Monday, June 29, 2015

วิธีการเลือกซื้อ กุนเชียง เสี่ยงหรือ ไม่เสี่ยง

กุนเชียง อาการโบราณ กินได้ทุกคน 

โครงการพัฒนากลไกการเผ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค  ได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงหมูจำนวน ๗ ตัวอย่าง  จากพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการ ๖ จังหวัด  ได้แก่ กรุงเทพฯ  ขอนแก่น  มหาสารคาม  เชียงใหม่  พะเยา  และสงขลา  จังหวัดละ  ๑  ตัวอย่าง  ยกเว้นจังหวัดมหาสารคามที่เก็บทั้งสิ้น  ๒  ตัวอย่าง
นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงไก่จำนวน  ๑  ตัวอย่าง  จากพื้นที่จังหวัดสตูล รวม ๘ ตัวอย่าง  ในเดือนมีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๓  เพื่อทดสอบหาปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ๒ กลุ่ม คือ สารกันบูด (ได้แก่ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไนเทรต และไนไทรต์) กับ สีสังเคราะห์
ผลการทดสอบพบว่า
        ในกุนเชียง  ๑  กิโลกรัมจากจำนวน  ๘  ตัวอย่างที่ทดสอบ ปริมาณเฉลี่ยของสารกันบูดชนิด  กรดเบนโซอิกเท่ากับ  ๑๕.๓  มิลลิกรัม  กรดซอร์บิกเท่ากับ  ๖๒๐  มิลลิกรัม  ไนเทรตและไนไทรต์เท่ากับ  ๑๐  มิลลิกรัม  อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการได้รับสารกันบูดสูงเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ  ๑๒.๕  ขณะที่ความเสี่ยงจากากรได้รับสีสังเคราะห์เป็นศูนย์  หรือเท่ากับไม่มีเลย  ซึ่งก็ถือว่าเป็นข่าวดี 

เพื่อลดความเสี่ยงเวลาเลือกซื้อกุนเชียงจะต้องอ่านฉลากให้ดี  

โดยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสียและไม่เจือสีสังเคราะห์

นิตยสารฉลาดซื้อแนะนำ

        กุนเชียงที่ดี  เนื้อกุนเชียงต้องผสมกันดี  ทั้งส่วนเนื้อและส่วนที่เป็นมัน
        สี  ต้องเป็นธรรมชาติ  ดูสม่ำเสมอกันตลอดชิ้น  ไม่ซีดหรือคล้ำ  และไม่มีกลิ่นอับหรือมีกลิ่นเหม็น
        กุนเชียงต้องบรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุที่สะอาด  ผนึกเรียบร้อย  ไม่มีสิ่งปนเปื้อน  ถ้าจะให้ดีควรมีการระบุ  ชื่อผลิตภัณฑ์  ส่วนประกอบ  น้ำหนักสุทธิ  วัน  เดือน  ปี  ที่ผลิต  หรือหมดอายุ  ชื่อผู้ผลิตพร้อมสถานที่ตั้ง  กำกับไว้ที่ภาชนะบรรจุกุนเชียง
กินให้อร่อย ต้องดีต่อสุขภาพ และอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

No comments:

Post a Comment